วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 กลอนแปด เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ
กลอนสุภาพแปดคำประจำบ่อน.............อ่านทุกตอนสามวรรคประจักษ์แถลง
ตอนต้นสามตอนสองสองแสดง..............ตอนสามแจ้งสามคำครบจำนวน
มีกำหนดบทระยะกะสัมผัส....................ให้ฟาดฟัดชัดความตามกระสวน
วางจังหวะกะทำนองต้องกระบวน..........จึงจะชวนฟังเสนาะเพราะจับใจ ฯ

ฉันทลักษณ์
๑. ในวรรคหนึ่ง ๆ มีอยู่ ๘ คำ จะใช้คำเกินกว่ากำหนดได้บ้าง แต่ต้องเป็นคำที่ประกอบด้วยเสียงสั้น
๒. การส่งสัมผัส คำที่ ๘ ของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือคำที่ ๕ ของวรรคที่สอง คำที่ ๘ ของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๘ ของวรรคที่ ๓ คำที่ ๘ ของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือที่ ๕ ของวรรคที่ ๔ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป
๓. วรรคสดับ หรือวรรคแรก คำสุดท้ายใช้คำเต้น คือ เว้นคำสามัญใช้ได้หมด แต่ถ้าจำเป็นจะใช้เป็นเสียงสามัญก็อนุญาตให้ใช้ได้บ้าง แต่อย่าบ่อยนัก พยายามหลีกเลี่ยง
๔. วรรครับ หรือวรรคสอง คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงจัตวา ส่วน เอก โท ตรี ได้บ้าง ห้ามเด็ดขาดคือ เสียงสามัญ
๕. วรรครอง หรือวรรคสาม คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๖. วรรคส่งหรือวรรคสี่ คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตายและคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๗. คำที่ ๓ ของวรรครองและวรรคส่ง ใช้ได้ทุกเสียง
๘. นิยมสัมผัสในระหว่างคำที่ ๕-๖-๗ ของทุก ๆ วรรค
๙. นิยมสัมผัสชิดในระหว่างคำที่ ๓-๔ ของวรรคสดับและวรรครอง
๑๐. อย่าให้มีสัมผัสเลือน, สัมผัสซ้ำ, สัมผัสเกิน, สัมผัสแย่ง, สัมผัสเผลอ, และสัมผัสเพี้ยน

กลอนแปดสุภาพนั้น บทหนึ่งมี ๒ คำกลอน หนึ่งคำกลอนมี ๒ วรรค
 
แต่ละวรรคมี ๘ คำ
การสัมผัส
ให้คำสุดท้ายวรรคแรก(วรรคสดับ) ไปสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๒
 
(วรรครับ)
ให้คำสุดท้ายวรรคที่สอง(วรรครับ) ไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
 
(วรรครอง)
ให้คำสุดท้ายของวรรคที่สาม(วรรครอง) ไปสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่
 
สี่(วรรคส่ง)
การสัมผัสระหว่างบท หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การสัมผัสเชื่อมร้อยระหว่างบท” 
     การเชื่อมสัมผัสระหว่างบท ให้คำสุดท้ายของวรรคทึ่สี่ คือ วรรคส่ง ไปสัมผัส
 
กับคำสุดท้ายของวรรคที่สอง คือวรรครับของบทถัดไป ให้แต่งเชื่อมบทอย่างนี้
 
เรื่อยไปจนจบเนื้อความตามที่ต้องการ
การบังคับสัมผัส
     มีข้อบังคับสัมผัสนอก ๓ แห่ง คือ ในบท ๒ แห่ง และสัมผัสเชื่อมระหว่างบท
 
๑ แห่ง และอีกอย่างหนึ่ง ถ้าจะสัมผัสสระ หรือพยัญชนะเพื่อความไพเราะในบท
 
เดียวกัน ก็จักทำให้กลอนแต่ละบทมีความไพเราะเสียงกลมกลืนยิ่งขึ้น
     ข้อบังคับ เรื่องการกำหนดเสียงวรรณยุกต์ ในคำสุดท้ายของแต่ละวรรค มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ใช้เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ไม่นิยมสามัญ
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ห้ามใช้เสียง สามัญ และตรี นิยมใช้ จัตวา เป็นส่วนมาก
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี ห้ามใช้ เอก โท จัตวา
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ใช้เสียงสามัญ หรือ ตรี ห้ามเสียง เอก โท จัตวา ส่วนมากนิยมเสียงสามัญ
  
ผังบังคับสัมผัส
     ผังสัมผัสบังคับ และสัมผัสสระ สัมผัสอักษรเพื่อความไพเราะ  หรือจะเรียกว่า
  มีทั้งการสัมผัสนอกและสัมผัสใน ดังแผนผังการแต่งกลอนของ ท่านพระสุนทร
  โวหาร หรือ ท่านสุนทรภู่ มีกลเม็ดวิธีสัมผัสดังนี้
ผังสัมผัสบังคับรวมทั้งสัมผัสอักษร(พยัญชนะ) และสัมผัสสระเพื่อความไพเราะ

            วิธีใช้วรรณยุกต์ ในคำสุดท้ายของแต่ละวรรค
๑๒๓๔๕๖๗๘ คำท้ายวรรค สดับ ใช้ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ไม่นิยมสามัญ
๑๒๓๔๕๖๗๘ คำท้ายวรรค รับ ห้ามใช้ สามัญและตรี นิยมใช้ จัตวา เป็นส่วนมาก
๑๒๓๔๕๖๗๘ คำท้ายวรรค รอง ใช้ สามัญ หรือ ตรี ห้ามใช้ เอก โท จัตวา
๑๒๓๔๕๖๗๘ คำท้ายวรรค ส่ง ใช้ สามัญหรือตรี ห้ามใช้ เอก โท จัตวา นิยมสามัญ

คณะของกลอนสุภาพ
              หนึ่งบทมี ๔ วรรค วรรคละ ๘- ๙ พยางค์ ๘ พยางค์ไพเราะที่สุดสัมผัสบังคับของ
กลอนสุภาพเป็นสัมผัสสระตามแผนผัง
สัมผัสนอก

              ความหมายก็คือสัมผัสนอกวรรคและนอกบท เป็นเสียงสัมผัสสระที่บังคับระหว่างวรรคและระหว่างบท
สัมผัสใน
              สัมผัสในหมายถึงเสียงสัมผัสคล้องจองภายในวรรคเดียวกันประกอบด้วยเสียงสระและเสียงพยัญชนะ ช่วยทำให้กลอนมีความไพเราะรื่นหู ไม่ได้บังคับไว้ในฉันทลักษณ์ กลอนของสุนทรภู่จะมีลักษณะโดดเด่นในเรื่องสัมผัสในมากที่สุด ผู้รู้ตั้งข้อสังเกตว่ากลอนสุภาพที่โดดเด่นด้านสัมผัสในนี้ได้รับอิทธิพลมาจาก "ปัฐยาวัตตฉันท์" ของภาษาบาลีและรวมกลบทเรื่อง "กลบทศิริวิบุลกิติติ์" ของ หลวงศรีปรีชา(เซ่ง)
สัมผัสใจ
              สัมผัสใจในที่นี้หมายถึงการเขียนกลอนให้สัมผัสถึงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้อ่าน ผู้ฟัง กลอนจะสัมผัสใจได้ต้องมีองค์ประกอบที่เด่น ๆ หลายส่วนด้วยกันดังแผนภาพ
ตัวอย่างการใช้อุปลักษณ์(เปรียบความคิดอย่างหนึ่งโยงไปสู่อีกอย่างหนึ่ง) ตัวอย่าง
       คือน้ำผึ้งคือน้ำตาคือยาพิษ
คือหยาดน้ำอำมฤตอันชื่นชุ่ม
คือเกสรดอกไม้คือไฟรุม
คือความกลุ้มคือความฝันนั่นแหละรัก

(รยงค์ เวนุรักษ์ :ไฟรัก ไฟชัง ไฟลา)
ตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์

       อาจเป็นความหนาวในราวป่า
เมื่อพบว่ารอยเท้าก้าวถลำ
และอ้อมแขนความมืดมีเพียงสีดำ
ในช่วงคืนแห่งค่ำร่ำอวยพร

(ชนิดา เดชาฤทธิ์)
สัมผัสความ
              คำว่าสัมผัสความในที่นี้หมายถึง การเรียบเรียงเนื้อหาและแนวคิดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เป็นเนื้อเดียวกัน
จากวรรค ๑ สู่วรรค ๒ วรรค ๓ วรรค ๔ และส่งไปยังบทต่อ ๆ ไป ขณะเดียวกันก็สอดรับกับชื่อเรื่อง
ที่ตั้งไว้ ตัวอย่าง กลอนใช้คำสื่อความของศิลปินแห่งชาติ
สัมผัสเลือนคือสัมผัสสระที่ต้องห้าม ไม่ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ กล่าวคือ นำ สระเสียงสั้นมาสัมผัสกับสระเสียงยาว เช่น เสียง ไอ ใอ อัย กับ เสียง อาย เสียงอัน กับ เสียง อาน เสียง อัง กับ เสียง อางในการแต่งกลอนถือว่าสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาวคนละหน่วยเสียงกัน  ดังนั้นเมื่อแต่งกลอน ต้องไม่ใช้คำสัมผัสดังที่กล่าวมา
ชิงสัมผัส คือการแย่งตำแหน่งสัมผัสบังคับ ก่อนถึงตำแหน่งสัมผัสเช่น คำสุดท้ายของวรรครับ
ต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายในวรรครอง แต่ผู้แต่งกลับไปใส่เสียงสัมผัสนั้นในตำแหน่งคำอื่นๆ อาจจะเป็น
คำที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ หรือ ๗ ก่อนถึงตำแหน่งนั้น เหมือนกับการแย่งซีนนั่นเอง ทำให้กลอนไม่ไพเราะ
เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน
การลงเสียงวรรณยุกต์ท้ายแต่ละวรรคตามประเพณีนิยม เป็นอีกกลวิธีหนึ่งที่ทำให้กลอนนั้นมีความไพเราะ
วรรคสลับ แต่โบราณ วรรคนี้จะไม่นิยมลงท้ายด้วยเสียงสามัญ แต่ปัจจุบันนิยมลงทุกเสียง
วรรครับ นิยมลงเสียง เอก เสียงโท และเสียงจัตวา การลงด้วยเสียงจัตวาเป็นเสียงที่ไพเราะที่สุด
และมีข้อสังเกตว่า หากลงเสียงจัตวาก็จะไม่ใช้คำจัตวาที่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ
วรรครองและวรรคส่ง นิยมลงเสียงวรรณยุกต์สามัญและตรี
ตัวอย่างเสียงสามัญ          พอ เพลิน ใจ เธอ แวว ดี ชม คอย
ตัวอย่างเสียงเอก              เกิด แผ่ว โศก ผิด หวาด แจก บาป เสก
ตัวอย่างเสียงโท              พ่อ วาด บ้าน แลก ข้อง รีบ เพรียก เมฆ
ตัวอย่างเสียงตรี              นุช รึ น้อง แล้ว จ๊ะ พลิก รัก พิศ
ตัวอย่างเสียงจัตวา          หรือ สมหมาย ปรารถนา สวรรค์ ผิวเผิน ขาน
ตัวอย่างคำประพันธ์
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
(สุนทรภู่)
ศักดิ์ เสียงวรรณยุกต์เอก จิต เสียงรรณยุกต์เอก
มิตร เสียงวรรณยุกต์ตรี จา เสียงวรรณยุกต์สามัญ
ในการแต่งกลอนไม่เพียงแค่รำพึงรำพัน หรือเรียบเรียงสัมผัสคล้องจองไปอย่างไร้จุดหมาย ผู้เขียนต้องมีแนวคิดที่ชัดเจนว่าจะนำเสนอแนวคิดอะไรถึงผู้อ่าน โดยใช้ภาษากลอนเป็นสื่อนำสาร(แนวคิด) กลอน ๑ เรื่องควรเสนอแนวคิดหลักเพียงแนวคิดเดียว


ตัวอย่างกลอนที่เสนอแนวคิดของสมาชิกกลุ่มร้อยรสบทกวี

ต้นหญ้าบนรอยแยก : โสภณ เปียสนิท
เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเมื่อมีชีวิตก็ต้องสู้โดยนำต้นหญ้าบนรอยแยกเป็นตัวเปรียบเปรย

ถ้าวันนี้..หนูมีพ่อ : สันติสุข สันติศาสนสุข
เสนอแนวคิดสะท้อนภาพเด็กที่กำพร้า

ประเทศไทย ไร้เจ้าของ...? : ปณิธิ ภูศรีเทศ
เสนอแนวคิดให้ช่วยกันดูแลรักษาประเทศ อย่าทำลาย
พรุ่งนี้.....ของอาคิมาสะ : ภาทิพ
สะท้อนแนวคิดเรื่อง ความไม่แน่นอนจงอย่าผัดวันประกันพรุ่ง
..พอเพียง... : ครู ป.1
สะท้อนแนวคิดการมีความสุขบนความพอเพียง
วรรคทองของกลอนคือกลอนวรรคที่มีความงดงามด้านการใช้ภาษา เสนาะด้วยเสียงสัมผัส ง่ายต่อการจดจำหรือท่องจำ มีการเปรียบเทียบเปรียบเปรย ใช้อุปมาอุปไมย อุปลักษณ์ สัญลักษณ์ โดดเด่นด้วยแนวคิดที่เป็นสัจธรรม และมีความเป็นอมตะ เป็นนิรันดร์ ไม่ตกยุค
กลอนที่เป็นวรรคทองจะถูกนำไปใช้ประกอบการเขียนเพื่อเป็นบทนำ เพื่อประกอบในตอนจบเรื่อง การพูดเกริ่นนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง การพูดตอนจบ หรือการประกอบการเทศนาธรรม เช่น บทกลอนของสุนทรภู่ ของท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นต้น
ท่านผู้รู้แนะนำว่า ในการแต่งกลอนแต่ละครั้ง ผู้เขียนควรคิดหาคำที่มาเรียบเรียงเป็นวรรคทองอย่างน้อย ๑ วรรค
คลิกอ่านตัวอย่างวรรคทอง วรรคทองของกวี
ผู้ที่อยากจะเขียนกลอนได้แต่ไม่มีพรสวรรค์ หากเพียงแต่อ่านฉันทลักษณ์แบบแผน ก็ยากที่ผลงานจะออกมาได้ดี การอ่านเป็นหัวใจของการเขียน คนที่จะเขียนกลอนได้ดี ต้องอ่านมาก โดยเฉพาะผลงานกลอนของครู-บูรพาจารย์ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมีการสะสมคำ สะสมภาษาที่งดงาม และชินต่อเสียงสัมผัส
การเริ่มต้นเขียนอาจจะเริ่มจากการเขียนล้อคำ ล้อความ ล้อสัมผัสกลอนของบรรดาครู ๆ ทั้งหลายก็ได้ หากสนใจก็หาอ่านได้จาก เว็บ วรรคทองของกวี     บันทึกไว้ในวงวรรณ ๔     มาลีฟ้า   จอมยุทธเมรัย   

ตัวอย่างผลงานกลอนระดับครู-บูรพาจารย์

แม้อกนี้แคบนักน้องรักเอ๋ย
อย่าหวั่นเลยอุ่นอุรากว่าอกไหน
เมื่อมีพี่เอื้ออกแคบให้แอบไอ
จะออมไว้ให้อิงเพียงหญิงเดียว
(สวัสดิ์ ธงศรีเจริญ : ออมอก)
สรวงสวรรค์ชั้นกวีรุจีรัตน์
ผ่องประภัศร์พลอยหาวพราวเวหา
พริ้งไพเราะเสนาะกรรณวัณณนา
สมสมญาแห่งสวรรค์ชั้นกวี
(น.ม.ส. : สามกรุง)
ถ้ารักใครไม่ได้ก็ไม่รัก
แต่กุจักชักดาบเข้าฉาบฉุด
ดั่งโคถึกคึกคะนองลำพองรุด
ใครจะยื้อใครจะยุดจะฉุดใจ

เมื่อรักกันไม่ได้ก็ไม่รัก
ไม่เห็นจักเกรงการสถานไหน
ไม่รักกุกุก็จักไม่รักใคร
เอ๊ะ น้ำตากุไหลทำไมฤๅ
(ขรรค์ชัย บุญปาน, สุจิตต์ วงษ์เทศ : ร่วมกลอนรัก)
เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง
มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า
มิหวังกระทั่งฟากฟ้า
ซบหน้าติดดินกินทราย
(อังคาร กัลยาณพงศ์ : เสียเจ้า)
ตาต่อตามิได้หมายถึงจิต
กายอยู่ชิดเมื่อใจเอื้อมไม่ถึง
ยิ้มตอบยิ้มใช่สลักรักรัดรึง
คนใกล้จึงแสนไกลในชีวิต ๚
(สินี เต็มสงสัย : คนใกล้)
เธอจะอยู่แห่งไหน...ในผืนหล้า
รู้เถิดว่าพี่ครวญหวนถวิล
ไม่สิ้นแรงร่างล้มลงถมดิน
พี่ไม่สิ้นคำนึง...คิดถึงเธอ
(สุรพล สุมนนัฏ : แด่อดีต)
เมื่อขอบฟ้าพร่าพราวหลาวทองทาบ
พุ่งปลายปลาบทะลวงถิ่นทมิฬถอย
ความมืดแมกแหลกเรื้อไม่เหลือรอย
อุทัยพร้อยแสงพร่างสว่างพราย
(อุชเชนี: ในนิมิตร)

สองหูแว่วแว่วเสียงสำเนียงหวน
เสียงครางครวญชวนให้ฤทัยหมอง
เสียงนั้นแว่วแผ่วมาน่าขนพอง
คือเสียงของความจนค่นแค้นเอย ๚
(อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์: เสียงจากความจน)
" คำในร้อยกรองหรือกลอนนั้น จะนับคำที่จำนวนพยางค์....เป็นหลักเช่น คำว่า กวี ... จะอ่านว่า กะ- วี ดังนั้น คำว่า กวี จึงเป็นสองคำกลอน หรือคำว่า กาญจนบุรี...จะอ่านว่า กาน - จะ - นะ - บุ - รี
ดังนั้นคำนี้จึงเป็น ห้าคำกลอน นะครับ

โดยปกติทั่วไปกลอนแปดในวรรคหนึ่ง จะมีแปดคำกลอน ถึง เก้าคำกลอน(ยกเว้นบางครั้งมีถึงสิบคำกลอนได้แต่ไม่ค่อยนิยมกันถือว่าไม่ค่อยดี ผู้ที่แต่งกลอนได้เพราะ มักจะใช้แค่แปดคำกลอนเท่านั้นถือว่าเป็นยอดกลอน

 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น